วิทย์วันละนิด


คุณประโยชน์ดีๆ จากแสงแดด




แสงอาทิตย์ยามเช้า ช่วยสลายอารมณ์เศร้า 



   ในบางครั้งที่เกิดความรู้สึกเศร้า หรือหดหู่มากกว่าปกติ การออกมารับแสงแดดในยามเช้าซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการเริ่มต้นวันใหม่ จะช่วยให้เรามีความสุขได้ เพราะแสงสว่างมีส่วนเชื่อมกับอารมณ์ของคนเราโดยตรง ซึ่งการได้รับแสงสว่างวันละ 20 นาที จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการผลิตสารเคมีในสมอง
คือ ฮอร์โมนเซโรโทนิน ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ช่วยให้อารมณ์ดี นอกจากนี้ ผู้สูงอายุที่ได้รับแสงแดดยามเช้าติดต่อกันเป็นเวลา 3 สัปดาห์จะมีอาการซึมเศร้าลดลง ซึ่งได้ผลไม่ต่างไปจากการให้ยาต้านซึมเศร้าเลยทีเดียว 

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------


แดดอ่อนๆ ตอนเช้า ช่วยให้หัวใจแข็งแรง 

   แม้แสงแดดจะดูเหมือนศัตรูร้ายสำหรับผิวสวย แต่รู้ไหมว่า การออกมารับแสงแดดอ่อนๆ ในตอนเช้า หรือก่อนเวลา 10.00 น. แสงแดดจะช่วยกระตุ้นการผลิตโปรตีนในสมอง ที่ชื่อ พีเรียด 2 (Period 2) ซึ่งเป็นโปรตีนที่ช่วยให้หัวใจเกิดการเผาผลาญพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนมากขึ้น จึงมีผลในการลดความเสี่ยงจากภาวะหัวใจวายได้ 

ทั้ง นี้ เป็นเพราะภาวะหัวใจวาย เกิดจากการที่หัวใจได้รับออกซิเจนน้อยเกินไป ทำให้หัวใจต้องดึงกลูโคสมาใช้ในการเผาผลาญพลังงานแทนไขมัน แต่โปรตีนพีเรียด 2 นี้ จะเข้าไปเปลี่ยนพลังงานจากไขมันเป็นกลูโคส จึงช่วยให้กระบวนการเผาผลาญที่หัวใจทำงานได้ดียิ่งขึ้น 

แสงแดดอ่อนๆ ในตอนเช้า มหัศจรรย์อย่างนี้ หากใครที่ตื่นมารับแสงแดดสักวันละ 30 นาที ก็รับรองได้ว่า นอกจากความจำจะดี มีความสุขแล้ว หัวใจก็แข็งแรงไปด้วยแน่นอน 

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


นอนดึกตื่นสาย ต้นเหตุทำความจำแย่ 

     ในวันหนึ่งๆ ร่างกายของคนเราจะมีการไหลเวียนของพลังงานผ่านไปยังอวัยวะต่างๆ ซึ่งมีความสัมพันธ์กับเวลา หรือที่เรียกว่า “นาฬิกาชีวิต” โดยร่างกายจะมีกลไกปรับตัวและหลั่งฮอร์โมนเพื่อให้การทำงานของระบบต่างๆ เป็นไปตามเวลาที่ดวงอาทิตย์ขึ้นและตก ดังนั้น การนอนดึกตื่นสายจนไม่ได้สัมผัสกับแสงแดดในยามเช้า จึงเป็นเหตุทำให้นาฬิกาชีวิตรวน และส่งผลต่อการผลิตฮอร์โมนบางชนิดที่สมองจำเป็นต้องใช้แสงแดดเป็นตัวกระตุ้น ไปด้วย

“ภาวะ นาฬิกานอนเคลื่อนที่” โดยมากจะเกิดกับคนที่นอนไม่เป็นเวลา จึงส่งผลให้เวลาที่ตั้งใจจะนอนกลับไม่นอน และเมื่อถึงเวลาที่จะต้องตื่นจึงตื่นยาก ซึ่งนอกจากจะทำให้ไปเรียนหรือไปทำงานสายแล้ว การนอนดึกตื่นสายยังเป็นการกระตุ้นให้สมองผลิตฮอร์โมนเมลาโทนิน (Melatonin) มากขึ้น ซึ่งโดยปกติแล้ว ฮอร์โมนชนิดนี้จะหลั่งออกมาเฉพาะในเวลากลางคืนเพื่อทำหน้าที่ควบคุมให้ร่าง กายนอนหลับ และจะหยุดหลั่งเมื่อร่างกายได้รับแสงแดดยามเช้า ดังนั้น หากเราไม่ตื่นมารับแสงแดด กระบวนการหลั่งฮอร์โมนเมลาโทนินก็จะเสียสมดุลไปด้วย เมื่อการนอนหลับเสียศูนย์จึงทำให้เรารู้สึกไม่สดชื่น เฉื่อยชา ปวดศีรษะ คิดอะไรไม่ออก และเกิดปัญหาความจำแย่ลงตามมาในที่สุด


ขอบคุณข้อมูลจาก: 
วิริยา บุญม่วง. “All about the SUN แสงแดดป้องกันโรค,” ใน ชีวจิต. 15(348): กุมภาพันธ์, 2558. 

ขอบคุณรูปภาพจาก: 
http://kbusociety.eduzones.com/th/archives/210
http://www.siamgag.com/v717874/
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

บาดแผลหายได้อย่างไร ?

            ขณะที่เรากำลังใช้มีด  บางครั้งอาจจะเผลอทำมีดบาดตัวเอง  แต่ทันทีทันใดนั้น  ร่างกายของ
เราก็จะเริ่มซ่อมแซมบาดแผลที่เกิดขึ้นทันที  สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ?
            ภายในเวลาไม่กี่นาที  ปลายเส้นเลือดที่ขาดก็ถูกหยุดด้วย เกล็ดเลือด ( platelets ) และเส้นใย
โปรตีนที่เรียกว่า ไฟบริน ( fibrin ) เลือดที่ออกมาอยู่ในแผลก็จะแข็งตัวกลายเป็นสะเก็ดคลุมแผลอยู่
ร่างกายเริ่มส่งเลือดมายังบริเวณบาดแผลเพิ่มขึ้น  เม็ดเลือดขาวที่มากับกระแสเลือดก็จะคอยฆ่าพวกเชื้อโรค
ที่บุกรุกเข้ามา  คอยจับทำลายพวกเซลล์ที่ตายแล้วและสิ่งแปลกปลอมต่างๆ ขณะเดียวกัน  เซลล์ชั้นนอกสุด
ของผิวหนัง ( epidermal cell ) ก็จะแบ่งตัว  และเคลื่อนที่จากขอบแผลทั้งสองข้างเข้ามาบรรจบกันใหม่
ตรงกลายภายใต้สะเก็ดเลือด  บาดแผลก็จะถูกคลุมด้วยชั้นเซลล์เหมือนเดิม  เส้นเลือดในบริเวณนั้นจะเจริญ
แทงเข้ามายังบาดแผลเพื่อนำออกซิเจนและอาหารมาเลี้ยง
            เซลล์ที่เรียกว่า ไฟโบรบลาสต์ ( fibroblast ) จะแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว  เพื่อสร้างเนื้อเยื่อมาเสริม
บริเวณบาดแผลให้เต็มโดยการผลิต คอลลาเจน ( collagen ) ซึ่งเป็นเส้นใยที่มีความเหนียว  ทำให้บาดแผล
มีความแข็งแรง  ขณะเดียวกันไฟโบรบลาสต์จะหดตัว  ทำให้บาดแผลสองข้างชิดกันเข้ามามากขึ้น  ปลาย
เส้นประสาทที่ขาดก็จะค่อย ๆ สอดเข้าไปในแผลเพื่อให้ความรู้สึกบางส่วนของบริเวณนั้นกลับคืนมา  เส้นเลือด
ต่าง ๆ ก็จะงอกเข้าหากันจนประสานกันเป็นร่างแหอยู่ภายในบาดแผล
            ในที่สุด  สะเก็ดเลือดบนแผลก็หลุดออกไป  ผิวหนังก็กลับมาประสานกันเหมือนเดิม  เนื้อเยื่อ
ภายใต้นั้นก็จะหนาแน่นไปด้วยไฟโบรบลาสต์และเส้นใยคอลลาเจน  ซึ่งจะค่อย ๆ เรียงตัวให้อยู่ในแนวที่รับ
ความตึงเครียดได้ดีที่สุด  เพื่อให้บาดแผลที่หายแล้ว มีความแข็งแรงเหมือนเดิม
ขอบคุณที่มา :  https://sites.google.com/site/kwansuda46/sara-na-ru

 ต่อมทอนซิล

ต่อมทอนซิล เป็นกลุ่มของต่อมน้ำเหลืองที่อยู่บริเวณ ช่องปาก โคนลิ้น และ หลังโพรงจมูก ต่อมทอนซิลจะสร้างเม็ดเลือดขาวบางชนิดเพื่อดักจับและกำจัดเชื้อโรคที่เข้ามา ทางปากหรือทางจมูก รวมถึงสร้างภูมิคุ้มกันโรคให้กับร่างกาย
ต่อมทอนซิลต้องทำการดักจับเชื้อโรคอยู่ตลอดเลา จึงมักจะเกิดการติดเชื้อและอักเสบได้บ่อยๆ ส่งผลให้ร่างกายของเราเกิดอาการอ่อนเพลียมีไข้ขึ้นสูง เจ็บคอ กลืนอาหารลำบาก และในเวลานั้นต่อมทอนซิลจะสร้างเม็ดเลือดขาวหรือภูมิคุ้มกันได้น้อยลงซึ่ง อาจจะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนขึ้นได้
หากต่อมทอนซิลเกิดการอักเสบอย่างรุนแรงร่างกายของเราจะมีอาการไอเรื้อรัง นอนกรน หายใจไม่สะดวก หากรุนแรงมากอาจจะเกิดภาวะหยุดหายใจระหว่างการนอนหลับได้ การรักษาเบื้องต้นแพทย์จะรักษาด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ หรือทำการผ่าตัดต่อมทอนซิล ซึ่งขึ้นอยู่แล้วแต่อาการของรายนั้นๆ 

ทำไมรอยฟกช้ำจึงมีสีคล้ำดำเขียว ?
 เมื่อร่างกายเราถูกกระแทกหรือถูกตีอย่างแรงที่ส่วนใดส่วนหนึ่ง  จะทำให้เส้นเลือดฝอยบริเวณ
นั้นแตก  เลือดจะไหลซึมออกมานองอยู่ใต้ผิวหนัง  ทำให้ผิวหนังปูดออก  บริเวณที่เลือดไหลนองนี้อยู่ลึก
ถัดไปจากหนังกำพร้าชั้นใน  ถ้าถูกกระแทกใหม่ ๆ จะเป็นรอยแดงจาง ๆ เมื่อผ่านวันไปจะมีสีคล้ำขึ้น
 การที่เราเห็นเป็นสีคล้ำเขียวก็เพราะแสงที่ส่องกระทบรอยฟกช้ำนั้นสะท้อนมาเข้าตาเรา  ก่อนที่
แสงจะมาเข้าตาเรา  แสงจะต้องผ่านชั้นต่าง ๆ ของผิวหนัง  กล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อบริเวณนั้นจะดูดซับแสง
สีแดงไว้  ส่วนแสงสีน้ำเงินถึงแสงสีม่วงจะไม่ถูกดูดซับ  เราจึงเห็นเป็นสีม่วงคล้ำบริเวณนั้น  ยิ่งรอยฟกช้ำ
ขยายตัวลึกเข้าไปมากเพียงใด  แสงก็จะถูกดูดซับมากขึ้น  เราก็จะยิ่งเห็นรอยฟกช้ำคล้ำมากขึ้น
 ร่างกายจะพยายามกำจัดเม็ดเลือดแดงหรือเม็ดเลือดขาวที่ถูกทำลายแล้ว  รวมทั้งชิ้นส่วนเซลล์
ที่แตกหลุดออกมา  เม็ดเลือดแดงจะสลายตัวมีสีซีดลงจนเหลือง  และสุดท้ายเม็ดเลือดขาวจะมากลืนกินสิ่ง
เหล่านี้  เพื่อทำความสะอาด  ในที่สุดเนื้อเยื่อบริเวณนั้นก็จะเข้าสู่สภาพเดิม
 ขอบคุณที่มา : https://sites.google.com/site/kwansuda46/sara-na-ru

ทำไมพริกจึงเผ็ด ?
 ความเผ็ดร้อนเกิดจากกรดชนิดหนึ่งเรียกว่า แคปไซซิน  ซึ่งอยู่ที่ผิวด้านในของ
ฝักพริก  หลายคนเข้าใจผิดว่าเม็ดพริกก็เผ็ดเหมือนกัน  ทั้งที่ตามจริงไม่มีแคปไซซินเลย  อย่างไรก็ตาม
กรดชนิดนี้กระจายอยู่ในยวงที่มีเม็ดพริกติดอยู่  เมื่อแกะเม็ดพริกออก  เนื้อพริกในส่วนนี้ก็จะติดมาด้วย
และทำให้เผ็ดน้อยลง
 แม้แคปไซซินจะให้รสเผ็ดถึงใจก็ตาม  พริกแต่ละเม็ดมีกรดชนิดนี้อยู่เพียงร้อยละ 0.1 เท่านั้น 

ขอบคุณที่มา :  https://sites.google.com/site/kwansuda46/sara-na-ru

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ค้นหาบนบล็อก