วันพฤหัสบดีที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2562

ปฏิบัติการศึกษาโครงสร้างของหัวใจสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

ปฏิบัติการศึกษาโครงสร้างของหัวใจสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม เป็นหนึ่งในกิจกรรมรายวิชาชีววิทยา เล่ม 4 บทที่ 15 ระบบหมุนเวียนเลือดและระบบน้ำเหลือง

วัตถุประสงค์
 1. ศึกษาและสรุปโครงสร้างหัวใจของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม
 2. สืบค้นข้อมูลและบอกความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างกับหน้าที่ของหัวใจแต่ละห้อง ลิ้นหัวใจ รวมทั้งหลอดเลือดที่เชื่อมต่อกับหัวใจ
 3. สรุปทิศทางการไหลของเลือดผ่านหัวใจ

วัสดุอุปกรณ์
 1. หัวใจหมู
 2. เครื่องมือผ่าตัด
 3. ถาดผ่าตัด
 4. ถุงมือยาง
 5. แท่งแก้วคนสาร
 6. หลอดหยด
 7. บีกเกอร์
 8. หลอดสั้น
 9. น้ำ


































































                                                                                                                นางสาวเยาวเรศ  ทองเหลือ  
                                                                                                              ฝึกสอนชีววิทยา 
                                                                                                           รายงาน

วันอังคารที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2562

การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน รายวิชาวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาปีที่1

เรื่องการแบ่งชั้นบรรยากาศ. 
บรรยากาศ คือ อากาศที่ห่อหุ้มโลกหรือบรรยากาศที่อยู่รอบตัวเราตั้งแต่พื้นโลกขึ้นไป แรงดึงดูดของโลกที่มีต่อบรรยากาศทำให้บรรยากาศมีการเคลื่อนตัวตามการหมุนของโลกไปพร้อมกับพื้นโลก บรรยากาศทำให้สิ่งมีชีวิตบนโลกมีชีวิตอยู่ได้ โดยเป็นแหล่งออกซิเจนสำหรับการหายใจของสิ่งมีชีวิต เป็นแหล่งคาร์บอนไดออกไซด์ให้พืชใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ช่วยป้องกันรังสี UV จากดวงอาทิตย์ไม่ให้มาถึงพื้นโลก และทำให้สะเก็ดดาวถูกเผาไหม้ก่อนที่จะตกลงสู่พื้นโลกและเป็นอันตรายแก่สิ่งมีชีวิต

1. โทรโพสเฟียร์ (Troposphere)

เป็นชั้นบรรยากาศชั้นล่างสุด ห่างจากพื้นดินขึ้นไปประมาณ 10 กิโลเมตร หรือ 33,000 ฟุต เป็นชั้นที่มีมนุษย์อาศัยอยู่ มีลักษณะเด่นคือ อุณหภูมิมีการเปลี่ยนแปลงตามความสูง โดยอุณหภูมิจะลดลงตามระดับความสูงที่เพิ่มขึ้น ดังนั้น ยิ่งสูงขึ้น อุณหภูมิจะยิ่งลดต่ำลงในอัตรา 6.5 ํC ต่อ 1 กิโลเมตร จนกระทั่งความสูงประมาณ 12 กิโลเมตร อุณหภูมิจะคงที่ประมาณ -60 ํC นอกจากนี้ชั้นโทรโพสเฟียร์ยังมีไอน้ำมาก ทำให้มีสภาพอากาศรุนแรงและแปรปรวน มีเมฆมาก เกิดพายุ และฝนบ่อยครั้ง

2. สตราโทสเฟียร์ (Stratosphere)

เป็นชั้นถัดจากโทรโพสเฟียร์ มีความสูงประมาณ 50 กิโลเมตร จากพื้นดิน มีอากาศเบาบาง ไม่มีเมฆและพายุ มีเพียงความชื้นและผงฝุ่น มีปริมาณความเข้มข้นของโอโซนมาก โอโซนจะช่วยดูดกลืนรังสี UV จากดวงอาทิตย์ ไม่ให้ส่องมายังพื้นผิวโลกมากเกินไป นอกจากนี้เครื่องบินเจ็ตยังนิยมบินช่วงรอยต่อระหว่างชั้นโทรโพสเฟียร์และสตราโทสเฟียร์ เนื่องจากสภาพอากาศนิ่งสงบ

3. มีโซสเฟียร์ (Mesosphere)

อยู่สูงจากพื้นดินประมาณ 85 กิโลเมตร อุกกาบาตที่พุ่งเข้าสู่ชั้นบรรยากาศของโลกส่วนใหญ่จะถูกเผาไหม้ในชั้นนี้ ขณะที่อุณหภูมิจะลดลงตามความสูง ยิ่งสูงขึ้นจะยิ่งหนาว และหนาวที่สุดประมาณ -90 ํC โดยพบบริเวณช่วงบนของบรรยากาศชั้นนี้ นอกจากนั้นยังมีอากาศที่เบาบางมากอีกด้วย

4. เทอร์โมสเฟียร์ (Thermosphere)

อยู่ถัดจากชั้นมีโซสเฟียร์ขึ้นไป มีความสูงจากพื้นดินประมาณ 85-500 กิโลเมตร อุณหภูมิในชั้นนี้จะสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จนถึงระดับ 100 กิโลเมตร  เนื่องจากอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่า 3 ชั้นแรก และจากนั้นอัตราการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิจะลดลง โดยอุณหภูมิในชั้นบนของเทอร์โมสเฟียร์ (Upper Thermosphere) จะอยู่ที่ 500-2,000 ํC อากาศในชั้นนี้มีแก๊สชนิดต่าง ๆ ที่เป็นประจุไฟฟ้า เรียกว่า ไอออน ซึ่งสามารถสะท้อนคลื่นวิทยุบางชนิด มีประโยชน์ในการสื่อสาร และกรองรังสีต่าง ๆ ที่มาจากนอกโลกได้ เช่น รังสีเอกซ์รังสี UV นอกจากนี้ดาวเทียมจำนวนมากยังโคจรรอบโลกอยู่ในชั้นนี้ด้วย

5. เอกโซสเฟียร์ (Exosphere)

เป็นชั้นบรรยากาศที่อยู่สูงจากผิวโลกตั้งแต่ 500 กิโลเมตรขึ้นไป ไม่มีขอบเขตชัดเจนระหว่างบรรยากาศและอวกาศ องค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นแก๊สไฮโดรเจนและฮีเลียม
จัดการเรียนการสอนโดยการ นำวีดีโอเรื่อง การแบ่งชั้นบรรยากาศ มาให้นักเรียนรับชม จากนั้นให้นักเรียนจับคู่กัน ร่วมกันศึกษาเรื่องการแบ่งบั้นบรรยากาศอีกครั้ง จากแหล่งความรู้เช่น หนังสือหรืออุปกรณ์สื่อสาร
และร่วมกัน จัดทำแบบจำลองการแบ่งชั้นบรรยากาศ 


ก้มหน้าก้มตาทำ☺️☺️☺️
มีความตั้งใจมาก☺️☺️
สวยงาม เข้าใจง่าย 

มีความตั้งใจ😊😊😊😊😊😊😊😊😊😊😊😊
ผลงานของพวกหนูครับ

ครูบัลลพ. ครูสุกัญญา. รายงาน😊😊😊😊😊😊https://youtu.be/D6L6vXBcDUM

ค้นหาบนบล็อก