วันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559

STEM DAY

ข่าวกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ในภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2559  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ได้จัดแสดงผลงานโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3   จำนวน 10 ห้องเรียน   ที่เรียนรายวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์  ผ่านกิจกรรม   STEM DAY   ในวันที่   23  กันยายน  พ.ศ. 2559  ณ โรงพละศึกษา    มีผลงานที่จัดแสดงจำนวน 80  โครงงาน  
การนำหลักการ STEM ศึกษา  มาประยุกต์ใช้ในการเรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ เป็นการผสมผสาน เชื่อมโยงความรู้ทางวิทยาศาสตร์ (Science) คณิตศาสตร์  (Mathematics) วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) และ เทคโนโลยี (Technology) เข้าเป็นองค์ความรู้เดียวกัน เพื่อให้นักเรียนสามารถค้นหาคำตอบของปัญหาที่สนใจ ด้วยกระบวนการ STEM แล้วได้คำตอบออกมาเป็นชิ้นงาน มีวิธีการหรือกระบวนการที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงในทางปฏิบัติ และมีการนำเสนอผลงานอย่างสร้างสรรค์
ตัวอย่างการจัดการเรียนการสอนรายวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ด้วยกระบวนการ STEM เริ่มต้นจากการใช้กระบวนและทักษะทางวิทยาศาสตร์   คือการสังเกตสิ่งแวดล้อม สถานการณ์ หรือปรากฏการณ์รอบๆตัว เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่สนใจและเป็นปัญหาที่เราต้องการแก้ไขหรือต้องการพัฒนาให้ดีขึ้น โดยปัญหาที่เราพบอาจมีมากมายหลายประการ แต่เราควรเลือกเฉพาะปัญหาที่เฉพาะเจาะจงและไม่กว้างจนเกินไป เพื่อให้สามารถนำมากำหนดเป็นจุดประสงค์ในการทำโครงงานที่ชัดเจน จากนั้นจึงอาศัยความคิด ไอเดีย จากศาสตร์ทั้ง 4 ของ STEM เข้ามาช่วยในการดำเนินงาน เพื่อให้ได้ต้นแบบของชิ้นงาน วิธีการหรือกระบวนการ ที่สร้างขึ้นมาตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้เพื่อตอบสนองต่อปัญหาในตอนแรก  แล้วจึงนำต้นแบบนั้นไปทดสอบด้วยการทดลอง เพื่อศึกษาประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่เกิดขึ้นว่ามีสิ่งใดที่จะต้องปรับปรุงแก้ไขอีกบ้าง จนเมื่อเสร็จสมบูรณ์แล้วจึงมีนำเสนอผลงานในรูปแบบของ STEM   DAY


หมายเหตุ  รายวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์  รับผิดชอบการเรียนการสอนโดย  คุณครูสนิท อยู่ดี และคุณครูจิตรลดา เฮงไชโย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ค้นหาบนบล็อก